วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 3


แบบฝึกหัดทบทวน
 คำสั่ง หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนั้นแล้วจงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย โดยคณะราษฎร์
เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรก
คณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษา
สูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนำประเทศของตน ใน
อันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรม
วโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการ
จรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า”
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่ง
กฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การ
โฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา,
2475, 536)
2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช
2492 ได้กำหนดอย่างไร   อธิบาย
ตอบ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492
 หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยงข้อกับศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี
มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็น
นักประชาธิปไตย
มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรม
เป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษา
อบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมาย
บัญญัติ
มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล
จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร มาตรา
65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
(ราชกิจจานุเบกษา, 2492, 25-27)
3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ พุทธศักราช 2511 มาตรา 59  และ พุทธศักราช 2517 มาตรา 72  มีความเหมือนกัน คือ
รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดา เนินกิจการของตนเอง ได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ แต่ พุทธศักราช 2517 มาตรา 72  เพิ่มเติมเล็กน้อย คือ สถานศึกษาของรัฐและของท้องถิ่นพึงให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
และ แนวนโยบายแห่งรัฐ พุทธศักราช 2521 จะแตกต่างจาก ทั้งสองปีก่อนหน้า คือ
มาตรา 60  รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความ
เหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ
สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและ
ปัจจัยต่าง ๆ ในการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพ การศึกษาอบรมภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐ
จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน การศึกษาอบรมขั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดให้สถานศึกษาดำเนิน
กิจการของตนเองได้โดยอิสระภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ และ
มาตรา 61 รัฐพึงสนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ และพึงส่งเสริม
การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ
และ มาตรา 62 รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มี
ความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
และเพื่อความมั่นคงของรัฐ
4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย

ตอบ ในประเด็นที่ 1 จะไม่ค่อยบังคับด้านการศึกษาโดยจะให้เสรีในการเลือกตัดสินใจ  ประเด็นที่ 2 มีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน


5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย

ตอบ  เหมือนกันที่ รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกากับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย

 

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็น
ธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ การปรับเปลี่ยนตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมาย
บัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ เมื่อกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษา
8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหาก
เราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้
ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ ฉบับที่ 5-10  (พ. 2540-2550)และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นคิดว่าโอกาสที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาสูงและได้รับการช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอ
ภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน
สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ ความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกันและการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศ
อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  ในด้านการศึกษา
            1. นโยบายเรียนฟรี 15 ปี
            2. ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน
            3.  การมอบทุนการศึกษา
            4. การให้การศึกษาแก่ผู้พิการ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 25492550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า 1 ในวันเดียวกันนั้น และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ และจัดให้มีการลงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ ประธาน สนช. จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย
ผลการออกเสียงประชามติ
เนื่องจากความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงดำเนินไปบนความร้อนแรงทางการเมือง มีการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ กับทั้งมีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับขั้นตอนการร่าง เช่น ประชาชนไม่มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง และคมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. รวมถึงเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของร่าง เช่น ให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่มาจากการแต่งตั้ง และให้นิรโทษกรรม คมช. เองที่ก่อรัฐประหาร
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ประเด็นที่แก้ไข คือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และหลักเกณฑ์ในการทำสนธิสัญญา (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)
ประเด็นข้อเรียกร้อง
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบุคคลและองค์กรต่าง ๆ ออกมาเรียกร้องในหลายประเด็น เช่น
-        *  การแก้ให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง แทนที่จะมาจากการเลือกตั้ง เดิมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สมาชิกวุฒิสภา มาจากการเลือกตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขให้มาจากการแต่งตั้งโดยกลุ่มทหารและข้าราชการ นาย วิชา มหาคุณ อดีตผู้พิพากษา และกรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้สนับสนุนการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา โดยกล่าวว่า "เรารู้กันดีว่าการเลือกตั้งสว.เป็นเรื่องการเล่นตลกร้ายของตระกูลนักการเมือง ทำไมชาวบ้านถึงอยากให้เห็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยชาวบ้าน และโดยเฉพาะนักวิชาการ ที่อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะก่อให้เกิด ประชาธิปไตยที่แท้จริง กำลังคิดแบบฝันลอย การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นปัญหา สภา เหมือนที่เห็นกันในอดีต ดังนั้น ทำไมชาวบ้านไม่อยากให้กลุ่มผู้พิพากษาช่วยเลือกให้?"[7]
-        *  การลดความมั่นคงของฝ่ายบริหารและระบบพรรคการเมือง เดิมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งมีความมั่นคง และระบบพรรคการเมืองเพิ่มความสำคัญขึ้น[8][9] สภาร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขให้ฝ่ายบริหารและระบบพรรคการเมืองลดอำนาจเบ็ดเสร็จลง โดยทำให้ยื่นญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ง่ายขึ้น อนุญาตให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้ายพรรคได้ง่ายขึ้น และไม่อนุญาตให้บุคคลใดมีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรีเกินสองสมัย[10][11]
-       *   การเรียกร้องให้เปลี่ยนนามประเทศไทยเป็นสยาม โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงทางเชื้อชาติ ภาษาและอัตลักษณ์วัฒนธรรม ตรงตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพื่อหลักการณ์ของความสมานฉันท์ ยอมรับในความหลากหลายทางเชื้อชาติ [14]
-        *  การเรียกร้องเรื่องความเสมอภาคของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศโดยกลุ่มเกย์ 10 องค์กร[15]


วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2



คำสั่ง หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนั้นแล้ว
 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ
 กระผมคิดว่าในสังคมปัจจุบันของมนุษย์นั้น ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านความคิดเห็น พฤติกรรม และฐานะ จึงจำเป็นอย่างมากต้องมีกฎระเบียบหรือกติกาในการอยู่ร่วมกัน เพื่อจะเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย อีกทั้งยังช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์มีความสุขมากขึ้น
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ กระผมคิดว่าถ้าหากในสังคมมนุษย์ไม่มีกฎระเบียบ กฎหมาย กติกา มนุษย์เรานั้นจะไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยสิ้นเชิง เพราะ ถ้าหากไม่มีกฎระเบียบ การต่อสู้แย่งชิงกันระหว่างมนุษย์ก็จะเกิดขึ้น การแก่งแย่ง แย่งชิง แย่งฝ่าย  อีกทั้ง ความรัก ความสามัคคีก็ยังไม่มีอีก จึงไม่มีความสงบสุข สู้รบไม่มีที่สิ้นสุด
3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
    ก. ความหมาย
        กฎหมาย หมายถึง ข้อบังคับใช้หรือคำสั่งที่ใช้กับมนุษย์ทุกคนในรัฐหรือประเทศ ซึ่งคำสั่งเกิดจากรัฎฐาธิปไตยจากกลุ่ม   บุคคลที่มีอำนาจสูงสุดได้หารือกัน ตั้งกฎหมายขึ้นมา พร้อมบทลงโทษหากใครฝ่าฝืน        
     ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย  (4 ประการ)
          1). เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตยที่คณะบุคคลมีอำนาจสูงสุด เช่น รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฎิวัติ เป็นต้น
2). มีลักษณะเป็นข้อบังคับ ไม่ใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ เช่น ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ
3). ใช้บังคับกับทุกคนในประเทศอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัว และมีความสงบสุขได้ เช่น การแจ้งเกิด การแจ้งคนตาย การเข้ารับการเกณฑ์ทหาร เป็นต้น
4). มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมาย หากฝ่าฝืนอาจจะถูกลงโทษในทางอาญา เช่น รอลงอาญา ปรับ จำคุก กักขัง ริบทรัพย์ หรือลงโทษในทางเเพ่ง
    ค. ที่มาของกฎหมาย
          ที่มาของกฎหมายนั้น ในแต่ละสถานที่ แต่ละรัฐ แต่ละประเทศ จะมีที่มาแตกต่างกัน สำหรับของประเทศไทยจะมีที่มาดังนี้
1)บทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณ์อักษรเช่นกฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกากฎกระทรวงเทศบัญญัติซึงกฎหมายดังกล่าวผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
          2)จารีตประเพณีเป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานานหากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
          3)ศาสนาเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆศาสนาสอนให้เป็นคนดีเช่นห้ามลักทรัพย์ห้ามผิดลูกเมียห้ามทำร้าย
ผู้อื่นกฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ

           4)คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษาซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการ ตัดสินคดีหลังๆซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
           5)ความเห็นของนักนิติศาสตร์เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้นสมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้
    ง. ประเภทของกฎหมาย
        เดิมมี 2 ประเภท คือ
 ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
     1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
         1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายเช่นรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ
         1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระ บวนการนิติบัญญัติเช่นจารีตประเพณีหลักกฎหมายทั่วไป
     2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
         2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 วรรคแรกบัญญัติโทษทางอาญาเช่นการประหารชีวิตจาคุกกักขังปรับหรือริบทรัพย์สิน
         2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่งได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆกันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
     3. กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
         3.1 กฎหมายสารบัญญัติแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
         3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติกล่าวถึงวิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
     4. กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
         4.1 กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนรัฐเป็น ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคมเป็น เครื่องมือในการควบคุมสังคมคือกฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดระเบียบ
         4.2 กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเช่นกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์
ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
     1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐใน การที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
     2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใน รัฐต่างรัฐๆ
     3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาเป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับ ให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอก ประเทศนั้นได้
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ เพราะทุกๆ ประเทศทั่วโลกต่างก็มีประชากรมนุษย์อาศัยอยู่ และมนุษย์ก็มีพฤติกรรม ความคิดเห็นซึ่งแตกต่างกัน อีกทั้งแต่ละประเทศยังมีสถานที่ พืช สิ่งของต่างๆ ซึ่งไม่สำหรับบางประเทศก็ไม่มีสิ่งแปลกๆ เหล่านั้น อาทิ ในเวสเวอจิเนีย มีการห้ามเด็กปากเหม็นไปโรงเรียน อันนี้เนื่องมากจากว่าที่รัฐนี้จะเก็บเกี่ยวหัวหอมชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า wild onion เป็นหัวหอมที่มีรสอร่อยมาก แต่เหม็นมหาประลัย  ก็คือถ้าเด็กกินหัวหอมนี่เข้าไปแล้วปากเหม็นจะเป็นการรบกวนชาวบ้าน เลยต้องมีกฎหมายของรัฐข้อนี้ขึ้นมา
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กระผมคิดว่ากฎหมายนั้นเป็นเส้นบรรทัดฐานของสังคม ให้มนุษย์ปฏิบัติตาม ซึ่งเคยได้ยินว่า
สภาพบังคับ หรือ  (SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆ ในกฎหมายนั้น
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ซึ่งสภาพบังคับกฎหมายทั้งสองนั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะ ในส่วนของ สภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง
ได้แก่ การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะ

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
 ตอบ คือ ระบบกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
         1. ระบบซีวิลลอร์ (CIVIL LAW SYSTEM) หรือระบบลายลักษณ์อักษรเป็นระบบเอามาจาก “JUS CIVILE” ใช้แยกความหมาย “JUS GENTIUM” ของโรมันซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือเป็นกฎหมายลาย ลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่นคำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมายแต่เป็น บรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้นเริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญจะ ถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้
        2. ระบบคอมมอนลอว์ (COMMON LAW SYSTEM) ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคำว่า “เอคควิตี้ (EQUITY) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรนำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษาซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองการวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด

8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วย
อะไรบ้างยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ ประเภทกฎหมายที่ศึกษานั้นสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้หลักในการแบ่งอะไร เช่น
1). ถ้าแบ่งโดยใช้เนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1.1 กฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยองค์กรที่มีอำนาจตามกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติต่าง ๆ ฯลฯ เป็นต้น
    1.2 กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีต่าง ๆ ที่นำมาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่มาของกฎหมาย ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรค 2 ว่า “เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่จะยกมาปรับแก้คดีได้ ท่านให้วินิจฉัยคดีนั้นตามคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น”
2). ถ้าแบ่งโดยใช้สภาพบังคับกฎหมายเป็นหลักในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ได้แก่ กฎหมายต่าง ๆ ที่มีโทษตามบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เช่น ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร ฯลฯ เป็นต้น
    2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง สภาพบังคับทางแพ่งมิได้มีบัญญัติไว้ชัดเจนเหมือนสภาพบังคับทางอาญา แต่ก็อาจสังเกตได้จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การบังคับชำระหนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย หรืออาจสังเกตได้อย่างง่าย ๆ คือ กฎหมายใดที่ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญา ก็ย่อมเป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
3). ถ้าแบ่งโดยใช้บทบาทของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    3.1 กฎหมายสารบัญญัติ ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงการกระทำต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของความผิดโดยทั่วไปแล้วกฎหมายส่วนใหญ่ จะเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
    3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการที่จะนำกฎหมายสารบัญญัติไปใช้ว่าเมื่อมีการทำผิดบทบัญญัติกฎหมาย จะฟ้องร้องอย่างไร จะพิจารณาตัดสินอย่างไร พูดให้เข้าใจง่าย ๆ กฎหมายวิธีสบัญญัติก็คือ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการเอาตัวผู้กระทำผิดไปรับสภาพบังคับนั่นเอง เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลแขวง กฎหมายวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว เป็นต้น
4).ถ้าแบ่งโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    4.1 กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกัน โดยที่รัฐไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด
    4.2 กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ในฐานะที่รัฐเป็นผู้ปกครอง จึงต้องมีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติป้องกัน การค้ากำไรเกินควร หรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความต่าง ๆ
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมาย หมายถึง การจัดลำดับค่าบังคับของกฎหมาย หรืออำนาจของผู้ออกกฎหมาย ซึ่งอาศัยว่าองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจในการออกกฎหมายสำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น รัฐสภาจะออกกฎหมายทันต่อความต้องการของสังคม และฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายในอยู่ภายใต้กรอบของหลัก กฎหมายใดที่อยู่ขั้นต่ำกว่าจะขัดแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์ไม่ได้ ซึ่งประเทศไทยได้จัดลำดับความสำคัญของศักดิ์ของกฎหมายได้ดังนี้
          1)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายแม่บทที่ใช้ยึดหลักในการปกครองและบริหารประเทศ
          2)พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยเห็นชอบจากรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนของประชาชน และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับกฎหมาย
          3)พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุเร่งด่วนหรือฉุกเฉิน ซึ่งเมื่อตราแล้วขึ้นนำเสนอต่อรัฐสภาภายในระยะเวลาอันสั้น (2-3 วัน) หากอนุมัติก็กลายสภาพเป็นกฎหมายเหมือนพระราชบัญญัติ
          4)ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ มีลักษณะคล้ายกับพระราชกำหนด ใช้ในยามที่มีสถานะสงครามหรือในภาวะคับขัน
          5)พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่กษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย ใช้ประกาศพระบรมราชโองการ มีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ และขัดกับกฎหมายที่ศักดิ์สูงกว่าไม่ได้
          6)กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออก โดยออกตามกฎหมายแม่บท มีความสำคัญรองลงมาจากพระราชกฤษฎีกา
          7). ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจปกครองดูแล ใช้บังคับเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดนั้น เพื่อจัดเรียงสังคมดูแลทุกข์สุขประชาชน
          8). เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล โดยมีการแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น 3 ระดับ คือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมืองและเทศบาลนคร

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรม
รูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่า จะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศ
เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกาย
ประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำ ผิดหรือถูก
ตอบ กระผมคิดว่ารัฐบาล กระทำถูกต้องแล้ว เพราะจากเหตุการณ์ที่ผมได้ติดตามมานั้น ประชาชนผู้ชุมนุมนั้นจะเดินทางผ่านไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า โดยจะขอผ่านทางสะพานมัฆวานฯ ซึ่งชัดเจนเลยเพราะเส้นทางนี้ได้มีการประกาศไปก่อนหน้านี้แล้วว่าห้ามเข้า  เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมยืนยันและขัดขืนที่จะเข้าจึงทำให้เกิดการปะทะกันสองฝ่าย ดังนั้นทางเจ้าหน้าที่จึงจำเป็นที่จะต้องใช้แก๊สน้ำตา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนของการปฏิบัติการควบคุมฝูงชน ถึงแม้มีประชนชนบางคนไม่ชอบและคัดค้านการกระทำนี้ เพราะทำให้หลายคนเกิดการอาเจียน แต่กระผมก็ยังคิดว่าเหตุการณ์นี้รัฐบาลใช้วิธีที่เหมาะสมแล้ว

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฎหมายศึกษา คือ การศึกษาที่มุ่งเน้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการปฏิบัติทางกฎหมาย กฎหมายศึกษาครอบคลุมหลายหัวข้อตั้งแต่เรื่องสิทธิมนุษยชนไปจนถึงกฎหมายเกี่ยวกับพาณิชย์และทรัพย์สิน โดยทั่วไปกฎหมายจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของคนในสังคมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยใช้มาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรมเป็นบรรทัดฐาน ในการพิจารณาว่าพฤติกรรมแบบไหนสังคมยอมรับได้ และพฤติกรรมแบบไหนที่สังคมยอมรับไม่ได้
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานั้นถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไป
ประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ จะไม่รู้เท่าทันกรอบ พรบ.  สิ่งที่ควรทำมิควรทำในการประกอบอาชีพ ผลกระทบมากมาย เมื่อครูผู้สอนกระทำผิด ไม่ว่าด้วยกรณีใด ซึ่งคนมาเป็นครูได้นั้นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ กฎหมาย ว่ามีอะไรบ้าง มีข้อห้าม ข้อควรปฏิบัติอย่างไร เพื่อที่เราจะได้นำไปประยุกต์ใช้ หรือมีความรู้ในการประกอบอาชีพ